The Times Higher Education World University Rankings หรือ THE สถาบันจัดอันดับมหาวิทยาลัยจากทั่วโลกที่เน้นการทำวิจัย ซึ่งประเมินภาพรวมสมรรถนะความสามารถจากภารกิจหลักสำคัญ 4 ด้าน ได้แก่ การสอน, การวิจัย, ชื่อเสียงของงานวิจัย, จำนวนนักศึกษาและบุคลากรต่างชาติ และการถ่ายทอดความรู้ โดยทั้ง 4 ด้านถูกประเมินโดยตัวชี้วัดทั้งหมด 5 ตัวหลัก ได้แก่ Teaching, Research, Citations, International Outlook, และIndustry Income หลักและวิธีการคำนวณและประเมินนี้ใช้มาตั้งแต่ปี 2011 ในปี 2015 มีการเปลี่ยนแปลงที่มาของข้อมูลในตัวชี้วัด Citations มาเป็น Field Weighted Citation Impact หรือ FWCI จากฐานข้อมูล Scopus โดย Elsevier ก่อนหน้านี้จนถึงปี 2014 ข้อมูล Citations ได้จาก Web of Science (THE World University Rankings 2020, 2019)
ตัวชี้วัดหลัก 5 ตัว (THE World University Rankings 2020, 2019) ได้แก่
Teaching (the learning environment) เพื่อดูชื่อเสียงของสถาบันการศึกษาด้านการสอน คิดเป็น 30% ของตัวชี้วัดทั้งหมด ตัวชี้วัดด้านการสอนแบ่งออกเป็น 5 ตัวชี้วัดย่อย ได้แก่
1) Reputation survey แบบสำรวจความมีชื่อเสียงด้านการสอน ซึ่งจะทำการสำรวจทุกปี โดย Elsevier จะสุ่มเลือกและส่งแบบสำรวจให้กับกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 21,000 ราย เพื่อให้พวกเขาทำการเลือกสถาบันการศึกษาทั่วโลกที่เด่นเรื่องการสอนและเด่นเรื่องการวิจัยในสาขาวิชาของตน อย่างละ 15 สถาบันและทำการจัดอันดับ 1 – 15 สำหรับการจัดอันดับปี 2021 เป็นผลจากการรวมผลการสำรวจของปี 2020 และ 2019 สถาบันใดที่ไม่ถูกเลือกในกลุ่มระหว่าง Teaching และ Research จะได้ศูนย์คะแนนในกลุ่มนั้นๆ และจะไม่ถูกนำมาปรับเข้ามาตรฐาน (Standardize) และคำนวณด้วยวิธีลอการิทึม (Logarithmic function) (ข้อมูลตัวเลข เช่น จำนวนสถาบัน จำนวนบุคลากรของสถาบันการศึกษาระดับต่างๆ นำมาจาก http://data.uis.unesco.org) คะแนนจาก Reputation survey คิดเป็น 15% ของตัวชี้วัด Teaching
2) Staff-to-student ratio อัตราส่วนบุคลากรต่อจำนวนนักศึกษาทุกชั้นปี และทุกหลักสูตร คิดเป็น 4.5% ของตัวชี้วัด Teaching
3) Doctorate-to-bachelor’s ratio อัตราส่วนนักศึกษาปริญญาเอกต่อนักศึกษาปริญญาตรี คิดเป็น 2.25% ของตัวชี้วัด Teaching
4) Doctorates-awarded-to-academic-staff ratio อัตราส่วนนักศึกษาปริญญาเอกและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นว่าสถาบันการศึกษานั้นๆ ทุ่มเทและให้ความสำคัญในการให้การศึกษาแก่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตมากน้อยแค่ไหน คิดเป็น 6% ของตัวชี้วัด Teaching
5) Institutional income เพื่อประเมินสถานะทั่วไป โครงสร้าง และเครื่องมือและอุปกรณ์ที่สนับสนุนการเรียนการสอนของทั้งนักศึกษาและการทำงานบุคลากร รายได้ (งบประมาณ) ของสถาบันการศึกษาจึงถูกนำมาคำนวณ เทียบกับ ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ (Purchasing power parity, PPP) และจำนวนบุคลากรการศึกษาทั้งหมด คิดเป็น 2.25% ของตัวชี้วัด Teaching
Research เพื่อดู จำนวนหรือปริมาณการทำวิจัย/งานวิจัย งบประมาณเพื่อการทำวิจัย และชื่อเสียงของงานวิจัย คิด 30% ของตัวชี้วัดทั้งหมด เมื่อเทียบกับค่ายจัดอันดับสถาบันการศึกษา/วิจัยระดับโลก THE มีตัวชี้วัดย่อยเพื่อตรวจหรือประเมินผลงานวิจัยของสถาบันถึง 3 ด้าน ได้แก่
1) Reputation survey แบบสำรวจความมีชื่อเสียงด้านการทำวิจัย ซึ่งจะทำการสำรวจทุกปี โดย Elsevier จะสุ่มเลือกและส่งแบบสำรวจให้กับกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 21,000 ราย เพื่อให้พวกเขาทำการเลือกสถาบันการศึกษาทั่วโลกที่เด่นเรื่องการวิจัยในสาขาวิชาของตน 15 สถาบันและทำการจัดอันดับ 1 – 15 ส่วนการคำนวณใช้หลักการเดียวกันกับ Reputation survey ของ Teaching คะแนนของ Reputation survey ชื่อเสียงด้านการวิจัย คิดเป็น 18% ของตัวชี้วัดงานวิจัย
2) Research income คำนวณจากจำนวนงานวิจัยทั้งหมดต่องบประมาณเพื่อการทำวิจัย เทียบกับภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ (Purchasing power parity, PPP) ซึ่งคิดเป็น 6% ของตัวดัชนีชี้วัดงานวิจัย อย่างไรก็ตาม ข้อควรคำนึงถึงคืองบประมาณในการวิจัยของแต่ละสถาบันการศึกษาขึ้นอยู่กับนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ การที่ THE เลือก Research income เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่ THE นำมาคำนวณการจัดอันดับ เพราะงบประมาณสำคัญต่อการพัฒนางานวิจัยระดับโลก และมองว่าเป็นประเด็นที่มีการแข็งขันกันสูง
3) Research productivity จำนวนผลงานที่ตีพิมพ์และทำดัชนีในฐานข้อมูล Scopus หารด้วยผลรวมของจำนวน FTE บุคลากรวิจัยและ FTE บุคลากรการศึกษา ตัวชี้วัดนี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของสถาบันการศึกษาในการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการคุณภาพ ซึ่งเริ่มใช้ในปี 2018 และได้มีการปรับเพื่อให้เครดิตกับงานวิจัยสหสาขาวิชา
Citations ตัวชี้วัดนี้ ประเมินบทบาทของมหาวิทยาลัยในการเผยแพร่หรือแพร่กระจายความรู้และไอเดีย (research influence) โดยดูจาก จำนวนครั้งโดยเฉลี่ยที่ผลงานตีพิมพ์ของสถาบันถูกอ้างอิงจากนักวิชาการทั่วโลก สำหรับการจัดอันดับในปี 2021 Elsevier ประเมิน 77.4 รายการอ้างอิงจากบทความวารสาร บทความรีวิว รายงานการประชุม หนังสือ และบทหนังสือที่ตีพิมพ์มากกว่า 5 ปี จำนวนมากว่า 12 ล้านชื่อ ซึ่งมาจากวารสารวิชาการที่ถูกทำดัชนีใน Scopus ระหว่างปี 2014 – 2018 มากกว่า 23,400 ชื่อ
THE มองว่า ตัวชี้วัด citations ชี้ให้เห็นหลายประเด็น เช่น มหาวิทยาลัยทุ่มเทให้กับความรู้ของบุคลากรมากเพียงใด งานวิจัยใดที่โดดเด่นจนเป็นที่ประจักษ์และถูกนำไปต่อยอดมากที่สุด ผลงานใดถูกแชร์ในประชาคมวิชาการทั่วโลก เป็นต้น ในปี 2015 – 2016 THE คัดชื่อผู้แต่งออกมากกว่า 1,000 ชื่อ เนื่องจากมีผลกระทบหรือ impact ไม่มากพอที่จะคำนวณคะแนน citation ในปี 2016 – 2017 THE ร่วมกับ Elsevier พัฒนาวิธีการคำนวณใหม่ เพื่อให้แน่ใจว่ามหาวิทยาลัยทั้งหมดที่เป็นต้นสังกัดของผู้แต่งบทความเหล่านั้นได้รับคะแนนอย่างน้อย 5% ตัวชี้วัด citations มีคะแนนคิดเป็น 30% ของตัวชี้วัด Research
International outlook (staff, students, research) ตัวชี้วัดนี้ สะท้อนความสามารถของสถาบันการศึกษาในการดึงดูดนักศึกษาทุกระดับการศึกษา รวมถึงบุคลากรจากทั่วโลก รวมถึงความสำเร็จของสถาบันการศึกษาบนเวทีโลก โดยดูจำนวนบุคลากรและนักศึกษาต่างชาติที่ถือสัญชาติต่างจากสัญชาติของประเทศที่สถาบันการศึกษานั้นๆ ตั้งอยู่ และความร่วมมือในการทำงานวิจัยกับต่างโดยดูจากสัดส่วนของผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ทั้งหมดและจำนวนผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ที่มีผู้แต่งร่วมอย่างน้อย 1 คนเป็นชาวต่างชาติ โดยแต่ละตัวชี้วัดย่อย สัดส่วนคะแนนสอยู่ที่ตัวละ 2.5% รวมแล้ว International outlook คิดเป็น 7.5% ของตัวชี้วัด Research
Industry income ตัวชี้วัดที่วัดการถ่ายทอดเทคโนโลยี ความรู้และนวัตกรรมสู่เอกชนที่กลายเป็นภารกิจหลักสำคัญของโลกการศึกษายุคใหม่ โดยดูจากรายได้ที่สถาบันการศึกษาได้รับจากกิจกรรมการถ่ายทอดความรู้ต่างๆ จากอุตสาหกรรมหรือเอกชน เทียบกับสเกลของจำนวนบุคลากรที่ใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ เหล่านั้น (ปรับให้สอดคล้องกับ PPP) ตัวชี้วัดนี้คิดเป็น 2.5% ของตัวชี้วัดหลักทั้งหมด
ที่มา: https://www.thailibrary.in.th/2021/09/28/the-rankings/